สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกคำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ โดยระบุ 10 ข้อ อ้างอิงจากคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ได้แก่
1.รักษาตามมาตรฐานการแพทย์ก่อน
2.ไม่ใช้หากอายุน้อย แนะนำอายุมากกว่า 25 ปี
3.ใช้กัญชาอัตราส่วน CBD : THC สูง
4.ไม่ใช้กัญชาสังเคราะห์
5.ไม่ใช้การสูบแบบเผาไหม้
6.หากสูบ ไม่อัดควันเข้าปอด แล้วกลั้นไว้
7.ใช้อย่างระวัง ใช้บ่อยและเข้มข้นสูง เสี่ยงสูง
8.งดขับรถ ใช้เครื่องจักร ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
9.งดใช้ ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวจิตเวช ตั้งครรภ์
10.หลีกเลี่ยงใช้ หากมีหลายปัจจัยเสี่ยง
ทั้งนี้ คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ ยัง ระบุ ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีTHC เป็นส่วนประกอบ
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆ และ/ หรือสารที่ เป็นตัวทำละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด
- ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease (angina, peripheral vascular disease, cerebrovascular disease และ arrhythmia) หรือ มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ที่เป็นโรคจิตมาก่อน หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน (concurrent active mood disorder) หรือ โรควิตกกังวล (anxiety disorder)
- หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่ วางแผนจะตั้งครรภ์เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงพบ cannabinoids ในน้ำนมแม่ได้
ข้อควรระวังอื่นๆ
- การสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจาก ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้น ผู้สั่งใช้ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการสั่ง ใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา
- ผู้ที่เป็นโรคตับ
- ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
- ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines 5. ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอในสองกลุ่มนี้กระบวนการ metabolism ของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้น ในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ
ที่มา : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข