Shopping Cart

No products in the cart.

รู้จักสาร THC และ CBD ในกัญชา และ กัญชง

CBD legal cannabis medical virtues: anti-inflammatory, analgesic, anxiolytic, etc. CBD and THC formula. Thematic photos of hemp and green ganja. Background image

กัญชาและสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ

กลุ่มสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) เป็นกลุ่มสารที่พบในพืชกัญชามีสารอยู่หลายชนิด ชนิดที่มีข้อมูลใช้ทางการแพทย์มากมีสองชนิดคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) พบได้ทั้งในกัญชาและกัญชง โดยส่วนมากต้นกัญชงจะมีสาร CBD มากกว่า ในขณะที่สาร THC จะพบมากในต้นกัญชา อีกทั้งพืชกัญชาแต่ละพันธุ์จะมีระดับสาร THC และ CBD แตกต่างกัน ขณะเดียวกันเทคนิคการปลูกก็มีผลต่อระดับสารเหล่านี้ด้วย

ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้คล้ายคลึงกันมาก แต่ให้ผลลัพธ์ต่างกันดังนี้

สาร THC 

 

  • ได้รับในขนาดที่เหมาะสมจะมีผลในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้
  • ได้รับในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจ ความจำเสื่อมทั้งระยะสั้นและยาว
  • หากใช้สาร THC ขนาดสูงสม่ำเสมอทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร (tolerance) ทำให้ต้องมีการเพิ่มขนาดเพื่อจะให้ได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดยาได้

สาร CBD 

  • เป็นสารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับ THC และให้ผลตรงกันข้ามเหมือนกับคอยต้านฤทธิ์ของ THC โดยสาร CBD ไม่ทำให้เสพติด ไม่ทำให้เกิดอาการเมา ซึมหรือร่างกายไม่ทำตามที่สมองสั่ง
  • อาจจะทำให้บางรายนอนหลับได้ เพิ่มความอยากอาหาร และมีอารมณ์ดี นอกจากนี้ มีการศึกษาใช้สาร CBD เพื่อควบคุมอาการชักและอาการปวดด้วย
  • ฤทธิ์ข้างเคียงจากการใช้ CBD พบได้บ้าง เช่น อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ตัวเบา
  • สาร CBD ยังไม่พบว่าทำให้เกิดการดื้อหรือติด

เนื่องจากในกัญชา จะมี THC ประกอบอยู่ถึง 12% และมี CBD เพียงไม่ถึง 0.30% เท่านั้น การสูบโดยตรงเพื่อรักษาโรคที่ CBD ทำได้นั้น ทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไป การจะใช้งาน CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการสกัดมันออกมา นั่นหมายถึงการนำกัญชาเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมแปรรูป

ทั้งนี้ THC จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (องค์การอนามัยโลก) มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้ง่วง หลับง่าย กระตุ้นการอยากอาหาร ต้านปวด ต้านอาเจียน และคลายกล้ามเนื้อ แต่ทำให้เสพติดได้

กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ทำผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น

ขณะที่ CBD ไม่จัดเป็นยาเสพติด เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร

ขอบคุณข้อมูลจาก แพทยสภา, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมสุขภาพจิต, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)